รีโนเวทบ้าน สองชั้น ให้สวยในแบบที่เราต้องการ
รีโนเวทบ้าน สองชั้น การรีโนเวท (Renovate)คือการบูรณะการซ่อมแซมให้กลับมามีสภาพดีเหมือนเดิม ยกตัวอย่างเช่นการรีโนเวทบ้านคือการปรับปรุงบ้านซ่อมแซมบ้านให้กลับมามีสภาพดีเหมือนเดิมหรืออาจเป็นการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ไปเลยก็ได้ เช่น อาจรีโนเวทจากบ้านไปเป็นบูทีคโฮเต็ล เป็นต้น
บริการรับรีโนเวท จึงเป็นบริการหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมมากๆในยุคปัจจุบัน เพราะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย กว่าการไปหาซื้อบ้านหรือทาวน์เฮ้าส์ หรือที่พักอาศัยใหม่ แถมยังได้อยู่ทำเลเดิมที่เราชื่นชอบ หรือคุ้นเคยอีกด้วย บริการรับรีโนเวทมีหลายบริษัทที่ให้บริการ แต่การเลือกผู้ให้บริการ มาดูแลบ้าน หรือโครงการของลูกค้า เป็นสิ่งสำคัญมากๆ เพื่อไม่ต้องมาปวดหัวทีหลัง หรือโดนผู้รับเหมาโกง ซึ่งเห็นเป็นข่าวอยู่บ่อยครั้ง บ้านแฝด
ไอเดียรีโนเวทบ้านเก่าอายุ 30 ปี
ปาร์เก้ เป็นวัสดุปูพื้นที่เราเคยคุ้นกันดี เพราะในยุคสมัยหนึ่งผู้คนชม ชอบใช้เป็นวัสดุปูพื้นบ้าน กันอย่างแพร่หลาย แต่ไม้ปาร์เก้ก็เช่นเดียววัสดุตกแต่งบ้านอื่น ๆ ที่มีวัฎจักรของความนิยม จากสูงสุดลงมาสู่สามัญ เนื่องจากมีวัสดุปูพื้นใหม่ ๆ เข้ามาตีตลาด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า วัสดุไม้แบบนี้จะไม่มีคุณค่า
หากเรานำมาปัดฝุ่นปรับเปลี่ยน หน้าตาสักนิดก็กลับมา อยู่ร่วมกับบ้านยุคใหม่ได้อย่างสง่างาม เหมือนเช่นปาร์เก้เฮาส์หลังนี้ที่อัดเต็มไปด้วยการรื้อ ของเก่ามาประกอบเป็นบ้านใหม่ แล้วใส่ความน่าสนใจเพิ่มขึ้นกับฟังก์ชันใช้งานภายในเป็นบ้านแบบมัลติฟังก์ชันไม่ได้ ใช้เพื่ออยู่อาศัยอย่างเดียว แต่เป็นทั้งที่อยู่อาศัย ออฟฟิศ และแกลลอรี่เฟอร์นิเจอร์ไปพร้อม ๆ กัน
Parquet House (ปาร์เก้ เฮาส์) โครง การรีโนเวทบ้าน เก่า 2 ชั้น พื้นที่ 210 ตรม. ตั้งอยู่ในบริบทของชุมชนที่อยู่อาศัยในอำเภอตลิ่งชัน กรุงเทพฯ เป้าหมายของโครงการนอกจาก จะเปลี่ยนอาการเก่าที่สร้าง มาหลายสิบปีให้ดูดีร่วมสมัย เพื่อรองรับการ ใช้งานเป็นที่พักอาศัย ออฟฟิศ และแกลลอรี่แล้ว
อีกหนึ่งโจทย์คือ การรักษาสิ่งที่มีอยู่เดิมให้มากที่สุด และนำใช้วัสดุและส่วนประกอบเดิมของบ้านที่ยังอยู่ในสภาพดี นำมาดัดแปลงใช้ใหม่ให้สอดคล้อง กับความต้องการของผู้อยู่อาศัย และสภาพแวดล้อมของบ้าน เป็นการนำส่วนหนึ่งของความทรงจำบ้านอายุ 30 ปีมาสร้างจิตวิญญาณใหม่ ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

ผนังที่กรุด้วยไม้ระแนงเส้นเล็ก ๆ
ตัดกับสีขาวของบ้านทำให้ลุคของ บ้านอบอุ่นแบบทันสมัย ส่วนตรงใจกลางที่เป็นชุดของ หน้าต่างบานผลักเล็ก ๆ ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง เป็นชุดหน้าต่างลูกฟักของ บ้านเดิมมาดัดแปลง เอาแผ่นไม้ตรงกลางออก เปลี่ยนเป็นผนังกระจกเพื่อรับแสงจากทิศตะวันออก ให้ส่วนกลางของบ้านสว่างตลอดวัน เป็นการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ดี ๆ ในการปรับโฉมหน้าใหม่ให้กับของเก่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ บ้านเดี่ยว
สำหรับบางส่วนของบ้านจะมี Facade โครงสร้างเหล็กแทรก ด้วยบานเกล็ดไม้เป็ นระยะใช้บดบังสายตา เพิ่มมิติให้อาคาร และยังเปิดดักทิศทางลม หรือปิดก็ได้ตามสถานการณ์
เหนือบริเวณห้องนั่งเล่น ถูกเจาะพื้นเพดานเดิมออก ให้กลายเป็นบ้านแบบมีโถงสูง Double Space รับกับช่องแสงที่ติดตั้งจากชั้นหนึ่งสูงขึ้นไปถึงชั้นสองเช่นกัน ซึ่งการเลือกวิธีการนี้มาจากแนวคิดการเปิดคานไม้ ใส่พื้นที่รับแสงธรรมชาติส่องเข้ามาในบ้านทั้งหลัง และยังเอื้อให้การลอยตัวของมวลอากาศร้อน ลอยขึ้นสู่ที่สูงแล้วระบาย ออกจากบ้านได้ดี
ตอบสนองต่อสภาพอากาศ เขตร้อนของประเทศไทย ด้วยสถาปัตยกรรมแบบ Modern Tropical เมื่อแหงนหน้าขึ้นไปมองจะเห็น คานโคมไฟแขวนสวย ๆ และคานปูนเปลือยบริเวณ มุมผนังสองด้านคล้ายๆ กับหินทราเวอทีน ส่งผลให้ตรงจุดนี้จะกลายเป็นเสมือนหัวใจหลัก ของบ้านที่ดูพิเศษชวนโฟกัสสายตา
หลังจากเอาพื้นชั้นบนออก ทีมงานรักษาตงไม้ ไว้บางส่วนให้บ้านมีสัดส่วน และเป็นส่วนตกแต่งของผนังที่ดูแปลกตา จากชุดโซฟานั่งเล่นมองขึ้นไปด้านบนชั้นลอย จะเห็นผนังยื่นออกมาตรงมุม ห้องที่ทีมงานออกแบบ ให้เป็นผนังโค้ง ๆ เพื่อเน้น ความต่อเนื่องของพื้นที่ บ้าน และลดทอนมุมแหลม ของผนังเดิม บ้านจึงดูละมุนอ่อนโยนขึ้น
ดูเผิน ๆ ที่นี่ก็เหมือนบ้านธรรมดาทั่วไป ที่ประกอบด้วย มุมนั่งเล่นพักผ่อน ห้องทานอาหาร ห้องนอน ห้องน้ำ แต่หากมองไปจนสุด ทางเดินเลยชุดโซฟาเข้าไป จะเห็นว่ามีชุดบานเกร็ด เก่าที่ถูกมาดัดแปลง ให้เป็นฉากบานเฟี้ยมกั้น ซึ่งตรงนี้แอบซ่อนฟังก์ชันลับ เอาไว้เป็นพื้นที่ ออฟฟิศในแบบที่คิดไม่ถึง

Office Whom ออกแบบให้พื้นที่ออฟฟิศแบบเปิดโล่ง open plan
เพื่อเชื่อมต่อทุก พื้นที่ในการทำงาน ทั้งโต๊ะของพนักงาน พื้นที่ประชุม และพื้นที่สร้างสรรค์ไอเดียมีทั้ง 3D printer มุมหนังสือและวัสดุสถาปัตยกรรม เข้าไว้ด้วยกันแบบไม่รู้สึกคับแคบ โดยใช้การปรับระดับฝ้า เพื่อเป็นตัวช่วยบ่งบอกการแยกสัดส่วนของพื้นที่ภายในออฟฟิศ เช่น ส่วนบริเวณโต๊ะประชุม จะยกฝ้าขึ้นสูงเพื่อให้เกิด ความรู้สึกสบายไม่รู้สึกกดทับกดดันในระหว่างพูดคุย
ย้อนกลับมาบริเวณ หน้าบ้านก่อนถึงมุมนั่งเล่น จะมีทางแยกเลี้ยวขวา ซึ่งถูกปรับปรุงต่อเติมเป็น ห้องทานอาหารแบบร่วมสมัยสุดคลาสสิค ไม่บอกก็ไม่รู้ว่าจุดนี้เดิมเคย เป็นที่จอดรถมาก่อน เมื่อปรับเปลี่ยนฟังก์ชันใหม่ทีมงานจึงติดตั้งประตูกระจกเป็นช่องตารางเต็มพื้นที่ผนังด้านข้าง เพื่อให้เห็นทิวทัศน์ ต้นไม้เขียวขจีภายนอก และรับแสงแดดอ่อน ๆ ตามธรรมชาติในยามเช้า สร้างความสุนทรีในทุกมื้ออาหาร
เราทราบกันดีกว่าครัว ไทยที่ต้องทำงานกับ เครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน เผ็ด ร้อน แค่ไหน ส่วนครัวไทยจึงถูกวาง แยกออกมาในตำแหน่งที่ใกล้กับประตู เพื่อให้สามารถถ่ายเท ระบายอากาศได้ดี ไม่ให้กลิ่นหรือควันขณะ ปรุงอากาศรบกวนพื้นที่ใช้ชีวิตในบ้าน ใส่ลูกเล่นสัมผัสของพื้นผิว ที่ล้อไปกับไม้ปาร์เก้ในบริเวณ ทางเข้าห้องครัว ด้วยการวางแผ่นพื้นหินแกรนิตผิวด้านในแพทเทิร์น เดียวกับพื้นปาร์เก้เดิม ถึงจะต่างวัสดุแต่ก็อยู่ ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน บ้าน
การตกแต่งเน้นความอบอุ่นแบบบ้าน ๆ ด้วยวัสดุไม้และปูนเปลือย ที่นักออกแบบนำไม้ปาร์เก้ที่เหลือจากการติดตั้งพื้นมาประกอบเป็นหน้าบานตู้ครัว ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากให้ดูเป็นครัวไทยที่ไร้ชีวิตชีวา จึงเพิ่มการเชื่อมต่อกับภายนอกมีความรู้สึกกึ่ง outdoor โดยใช้วัสดุหลังคาแบบโปร่งแสง เพื่อรับแสงธรรมชาติเข้ามา ในส่วนนี้ได้ตลอดวัน พื้นหินแกรนิตลายปาร์เก้นี้ถูกปูเชื่อมต่อ ไปถึงสวนภายนอก เพื่อให้ความรู้สึกว่าพื้นที่บ้านดูกว้างขึ้น

ชั้นบนตกแต่งสไตล์ ร่วมสมัยเช่นเคย มีตู้ย้อมเสี้ยนขาวขัดเก่า ๆ เก้าอี้ โต๊ะขาสิงห์ ที่เป็นงานประณีตศิลป์วางประดับสวยงามเหมือนเป็นโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ ในขณะเดียวกันก็ปล่อย ให้คานปูนโชว์ความงาม ในไม่สมบูรณ์ และออกแบบให้แนวฝ้าslopeตามแนวจั่ว ของหลังคาเพื่อ ให้ได้ระดับฝ้าที่สูงที่สุด
ห้องจึงดูสูง และโปร่งขึ้นไม่อึดอัด ในส่วนของห้องนอน สถาปนิกทำการปรับผนังกั้น กระจกจากเดิมที่ทึบออก แล้วเจาะช่องแสงเพิ่ม พร้อมทั้งขัดทำสีใหม่ ให้มีความสว่างมากขึ้น สร้างบรรยากาศของ การพักผ่อนชวนให้รู้ สึกผ่อนคลายหลับสนิทตลอดทั้งคืน
รีโนเวทบ้านหรือสร้างใหม่ อะไรคุ้มกว่ากัน
1.วัตถุประสงค์ที่ต้องการนำมาใช้งาน
ขั้นตอนแรกก่อนที่จะเริ่มลงมือ คุณต้องทราบวัตถุประสงค์ที่จะปรับปรุงบ้านเพื่อนำมาใช้งานก่อน เช่น ขยายพื้นที่เพื่อรองรับคนในครอบครัวที่มากขึ้น เปลี่ยนให้มีห้องมากขึ้นเพื่อปล่อยเช่า ดัดแปลงด้านล่างเพื่อเปิดร้านอาหาร ฯลฯ จากนั้นจึงค่อยวางแผนว่า ระหว่างรื้อสร้างใหม่กับรีโนเวทบ้านแบบไหนจะตอบโจทย์กับความต้องการมากกว่ากัน
ยกตัวอย่างเช่น ต้องการปรับเปลี่ยนพื้นที่ชั้นล่างของบ้านเพื่อเปิดเป็นร้านอาหาร คุณอาจไม่ต้องถึงกับรื้อทิ้งสร้างใหม่ทั้งหลัง แต่เพียงรีโนเวทชั้นล่างของบ้านให้มีพื้นที่กว้างพอที่จะวางโต๊ะ และสร้างห้องครัวใหม่ เพื่อให้สามารถเปิดเป็นร้านอาหารได้

2.ตรวจสอบโครงสร้างของบ้านในปัจจุบัน
อีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้คุณสามารถตัดสินใจได้วาจะเลือกสร้างใหม่หรือรีโนเวทบ้าน นั่นก็คือ การตรวจสอบโครงสร้างของบ้านในปัจจุบัน หากบริเวณโดยรอบบ้านมีรอยแยกแตกร้าว เริ่มผุพัง หรือคิดว่าตัวบ้านของคุณมีอายุมากเกินที่จะรีโนเวทแล้ว เราจะแนะนำให้คุณเลือกที่จะสร้างใหม่เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย
อย่างไรก็ตาม เพื่อความแน่ใจว่าบ้านของคุณยังมีโครงสร้างแข็งแรงดีอยู่หรือไม่ แนะนำให้ติดต่อวิศวกรที่ชำนาญการมาเป็นผู้ประเมินโครงสร้างให้จะได้ผลลัพท์ที่ถูกต้องที่สุด
3.สำรวจที่ดินและพื้นที่ว่าง
หากสำรวจดูแล้วบริเวณโดยรอบบ้านของคุณยังมีที่ดินและพื้นที่ว่างเหลือพอสำหรับการรีโนเวทบ้านเพิ่มเติม คุณก็สามารถตัดสินใจลงมือได้ไม่ยาก แต่ถ้าหากคุณไม่มีพื้นที่เหลือแล้ว การทุบตัวอาคารออกบางส่วนเพื่อต่อเติมเพิ่ม ก็อาจคุ้มค่ากว่าการรื้อสร้างใหม่
แต่ถ้าการต่อเติมของคุณเป็นรูปแบบแนวตั้งเพื่อเพิ่มจำนวนชั้น และโครงสร้างอาคารของคุณไม่สามารถรับน้ำหนักเพิ่มได้แล้ว การทุบแล้วสร้างใหม่นับว่าเป็นตัวเลือกที่สร้างความปลอดภัยให้คุณได้มากกว่าการรีโนเวทบ้าน แต่ก็อาจแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นกว่าเดิม
4.คำนวณงบประมาณที่มี
หัวใจสำคัญของการแปลงโฉมบ้านของคุณนั่นก็คือ งบประมาณ ซึ่งคุณควรคำนวณงบประมาณที่มีให้พร้อมก่อน แล้วจึงตรวจสอบดูว่าเงินก้อนที่คุณมีนั้นเพียงพอต่อความต้องการในด้านไหนมากกว่ากัน
5.ปรึกษาผู้เชี่ยวาญ
เมื่อแผนการปรับปรุงบ้านของคุณเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ขั้นตอนสุดท้ายก่อนเริ่มดำเนินการนั่นก็คือ การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ สถาปนิก และวิศวกร ซึ่งจะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของบ้านได้มากขึ้น และรู้รายละเอียดในเรื่องของค่าใช้จ่ายอย่างชัดเจน