บ้านฟาซาดไม้ระแนง

บ้านฟาซาดไม้ระแนง เนรมิตธรรมชาติที่มีอยู่ในใจ

บ้านฟาซาดไม้ระแนง ฟาซาด (Facade) หรือความหมายอีกนัยหนึ่งที่ว่า เปลือกหุ้มอาคาร เป็นอีกหนึ่งแนวคิดในการออกแบบและตกแต่ง อาคารบ้านเรือน ที่ไม่ใช่แค่เป็นไป เพื่อความสวยงาม แปลกตา และแสดงให้เห็นถึงแนวคิด ของงานดีไซน์สิ่งปลูกสร้างเท่านั้น  บ้านเดี่ยว

แต่ฟาซาดยังกลายมา เป็นการแปลงโฉมอาคาร บ้านเรือนให้เหมือนได้รีโนเวท อาคารบ้านเรือนซะใหม่ และยังมีความสำคัญมากไปกว่านั้นอีก ด้วยการเป็นสิ่งที่ถูกออกแบบ ให้มีหน้าที่ในการควบคุม การรั่วไหลของอากาศ ดุแลควบคุมความชื้น ช่วยกันไฟ ช่วยลดอุณหภูมิ และความร้อนจากสภาพอากาศ ภายนอกก่อนที่จะเข้ามาสู่ภาย ในของตัวอาคารบ้านเรือน ช่วยในเรื่องของ การควบคุมแสงสว่างจากภายนอก ให้พื้นที่ภายในอาคาร อยู่ในสภาพอันแสนสบาย และช่วยลดอัตราการใช้ พลังงานให้น้อยลงอีกด้วย

บ้านฟาซาดไม้ระแนง

แบบบ้านฟาซาดไม้ระแนง สองชั้น

เสน่ห์ของความเป็น บ้านสไตล์ญี่ปุ่น ไม่ได้อยู่ที่รูปลักษณ์ วัสดุ หรือฟังก์ชันเท่านั้น แต่อยู่ที่การรู้คุณของธรรมชาติ และพยายามจัดสรรพื้นที่ ใช้ชีวิตให้เห็นความเปลี่ยนแปลง ของธรรมชาติในทุกฤดูกาล อาจจะเป็นการจัดสวนหน้าบ้าน หรือสวนในบ้าน ตามแต่เจ้าของบ้านจะต้องการ หรือพื้นที่จะอำนวย สำหรับบ้านหลังนี้ย่านที่พัก อาศัยในเขตชานเมือง

ซึ่งพัฒนาโดยการสกัด ภูเขาออกบางส่วนในช่วงทศวรรษ 1950 แล้วถูกแทนที่ด้วยเมือง สถาปนิกจึงต้องการฟื้นคืนความ มีชีวิตชีวาในอดีต ด้วยการสร้างบ้านที่ เชื่อมต่อกับสิ่งแวดล้อม โดยรอบที่มีสวนด้านหน้า 2 แห่ง และสวนภายใน 3 แห่ง บ้านแฝด

บ้านพื้นที่ 130 ตารางเมตรนี้ ตั้งอยู่ในที่เนินย่าน ที่อยู่อาศัยชานเมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น โปรเจ็กต์พยายามที่จะนำความผุดขึ้น ของธรรมชาติภายในร่างกาย สร้างสมดุลกับ ภูมิทัศน์โดยรอบ กับรูปแบบที่อ่อนโยนของภูเขาที่อยู่เบื้องหลัง

หลังคารูปสามเหลี่ยมสาม หลังคาลาดต่างระดับ ต่างองศา และทิศทางต่าง ๆ ปรากฏขึ้นอย่างโดดเด่นเหนอหลังคาชั้นล่างที่เป็น เมทัลชีทสีดำรูปตัว L บ้านที่ติดถนนต้องการความ เป็นส่วนตัวสูงจึงติดระแนงไม้ไม้แนวตั้งพรางสายตา ในณะที่ยังให้แสงธรรมชาติ ส่องเข้ามาในพื้นที่บ้านได้ มองดูไกล ๆ เหมือนบ้านมีศาลาโปร่ง ๆ อยู่ข้างบน

บ้านฟาซาดไม้ระแนง

หน้าบ้านจัดสวนและทางเดินหินพร้อมม้านั่งเล็ก ๆ

ใต้ชายคา ให้เด็ก ๆ ในละแวกบ้านสามารถแวะ มานั่งพักหรือเล่นสนุกได้ ใกล้กันเป็นพื้นที่ เก็บฟืนของบ้าน การตกแต่งบ้านลักษณะนี้ ทำให้รู้สึกว่าแม้ตัวบ้าน จะตั้งใจใส่ความเป็นส่วนตัวลงไป แต่บรรยากาศในภาพรวมก็ยังเต็มไปด้วย ความเป็นมิตรและเอื้ออาทร บ้านจัดสรร

นอกจากสวนนอกบ้านแล้ว เจ้าของบ้านต้องการ ให้มีพื้นที่สวนแบบส่วนตัวภายใน สถาปนิกจึงแยกส่วนของอาคารออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ โดยรักษาระยะห่าง และเปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมอย่างช้า ๆ อาคารทั้งหมดประกอบด้วย บ้านไม้ชั้นเดียวรูปตัว L และอาคาร 2 ชั้นมีหลังคาทรงจั่ว ชายคาสั้นๆ ที่ลดหลั่นกันแต่ก็เชื่อมโยงกัน เพื่อสร้างพื้นที่ open Space เปิดออกสู่ท้องฟ้าตรงกลาง เป็นจุดที่ดึงแสงรับ อากาศบริสุทธิ์ ขณะที่ลมพัด แสงส่องลงมา และเงาสีเขียวส่อง ประกายระยิบระยับ ทำให้บ้านเต็มไปด้วยชีวิตชีวา

เมื่อเดินผ่านประตู และสวนหน้าบ้านเข้ามาภายใน จะเห็นรายละเอียดของบันไดบ้านที่ใส่ความโค้งเข้าไไปในระหว่างลูกตั้ง เป็นตัวเอกของบ้าน ที่ดึงแนวสายตาก่อนใคร จากนั้นจะเริ่มมองไปที่ผนัง กระจกรอบด้านที่ให้รู้สึกให้ความลึก และความกว้าง สร้างการเชื่อมต่อเชิงพื้นที่แบบหลวม ๆ ล้อมคอร์ทยาร์ดที่แสวนสดชื่นเอาไว้

สวนเล็กๆ ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Tsubo Niwa ซึ่งสวนชั้นในของบ้าน ไม่ได้มีอยู่แค่จุดเดียว แต่มีทั้งหมด 3 จุด กระจายกันอยู่ ซึ่งสวนตรงกลาง จะทำหน้าที่เป็นกันชนที่ เชื่อมระหว่างสวนด้านหน้า และภายใน ในขณะที่สวนที่มุมทิศใต้เป็นจุดรับลม ปลูกดอกไม้ พืชผล ผสมผสานสภาพแวดล้อมภายใน และภายนอกอย่างอ่อนโยน ในยามเช้าอาจจะมีนกน้อย ๆ สัตว์ต่างๆ แวะเวียนมาเยี่ยมสวนนี้ด้วย ทำให้บ้านไม่ได้ เป็นมิตรเฉพาะกับคนเท่านั้น แต่เอื้ออารีกับ สัตว์ด้วยเช่นกัน phuket property

ตกแต่งด้วยธรรมชาติ

บ้านวางตำแหน่งฟังก์ชันต่าง ๆ ล้อมที่ว่างซึ่งจัดเป็นสวนเอาไว้

ด้วยความที่บ้านวางตำแหน่งฟังก์ชันต่าง ๆ ล้อมที่ว่างซึ่งจัดเป็นสวนเอาไว้ แล้วใส่ผนังกระจกในบริเวณกว้าง ทำให้แต่ละด้านของ บ้าน ได้รับวิวและความสดชื่นจากธรรมชาติ ที่แทรกอยู่ได้แม้ จะอยู่ในห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าว หรือห้องอ่านหนังสือ อย่างชิดใกล้ เวลาเดินขึ้นลงบันไดก็สามารถเก็บวิว ได้เพราะผนังกระจกตรงจุดนั้นติดสูงจาก พื้นจรดเพดานสองชั้น ให้วิสัยทัศน์ในการมอง เห็นสูงขึ้นถึงปลายยอดไม้ และท้องฟ้า และยังมองเลยออกไปเห็นสนามบินโอซาก้า และใจกลางเมืองโอซาก้า ในระยะไกล ๆ ได้

พื้นผิวไม้มีชีวิตชีวาขึ้น เมื่อแสงส่องเข้ามาในบ้าน มิติของแสงเงาที่ส่องลอด ซี่ไม้ระแนงตกกระทบผนัง และพื้น สร้างบรรยากาศที่น่า มองอย่างอบอุ่น เสน่ห์ของความเป็นญี่ปุ่น อยู่ที่การใช้ชีวิตร่วมกับฤดูกาล แม้แต่ห้องน้ำ ห้องนอน จึงตั้งใจใส่ผนังกระจกเช่นกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คน บ้าน และธรรมชาติได้อยู่ร่วมกันอย่างชิดใกล้ สามารถเข้าถึงกันได้ง่าย ราวกับเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องสายตาของผู้คนภายนอก

บ้านยุคใหม่นิยมใช้ บ้านระแนงไม้ ในการรักษาความเป็นส่วนตัว โดยที่บ้านยังคงรับแสง ธรรมชาติและลมเข้าสู่ภายในได้ แต่ประตูหรือผนังระแนงเล็ก ๆ นี้ในงานสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น ก็มีเช่นกัน และมีมาตั้งแต่โบราณด้วย โดยมีชื่อเรียกว่า senbon-koshi หมายถึง “ระแนงนับพัน” เพราะประกอบด้วยไม้ซี่เล็ก ๆ จำนวนมาก ความถี่ของซี่ระแนงช่วยกรอง แสงที่จะเข้าสู่ภายใน และพรางสายตาจาก บุคคลภายนอกไปพร้อมกัน ซึ่งไม่ได้ให้แค่ความสวยงาม ยังเป็นประโยชน์กับ บ้านด้วยในหลายๆ ประการ

โต๊ะนั่งทานข้าว

ว่าแต่รูปแบบในการออกแบบ Facade ให้โลกจำ จะมีแบบไหน

1.Cladding Facade
หรือการตกแต่งเปลือกอาคารในลักษณะห่อหุ้มทั้งผนัง ด้วยการเลือกใช้วัสดุที่มีความแข็งแรง และทนทานต่อทุกสภาพอากาศ อย่างเช่นวัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์ ที่มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์และเส้นใยเซลลูโลส มีความแข็งแรงของเนื้อวัสดุ แต่ก็ยืดหยุ่นได้ สามารถปรับเปลี่ยนผิวหน้าได้หลากหลาย

ซึ่งจุดเด่นของ Facade ในลักษณะนี้ ก็คือความโดดเด่นของผืนผนัง ที่สร้างสรรค์ได้ตามสไตล์ของการออกแบบอาคาร ที่สัมพันธ์กับลักษณะของพื้นผิววัสดุ ได้แก่ ผนังตกแต่งจาก เอสซีจี ที่มีทั้งลวดลายของหิน อิฐ ไม้ และแร่ธาตุธรรมชาติ เช่นเหล็ก ปูน และดินเข้ากับบ้านหรืออาคารได้หลากหลายสไตล์ทั้ง Modern Tropical, Modern Loft, Minimal, Nordic ฯลฯ ผนังตกแต่งระดับพรีเมียมที่สามารถทำความสะอาดตัวเองได้ด้วย Photocatalytic Coating

2.Timber Battens Facade
ระแนงไม้ เป็นการตกแต่งที่ไม่มีวันตายในทุกๆยุคสมัย เพราะเป็นวัสดุที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน ช่วยให้พื้นที่ในบริเวณนั้นมีความผ่อนคลายสบายตา เข้ากับบ้านได้ทุกสไตล์ อีกทั้งยังช่วยกรองแสงแดด เปิดพื้นที่ให้อากาศถ่ายเท ช่วยลดความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวอาคาร และยังช่วยบดบังสายตาจากคนภายนอกได้

3.Perforated Facade
คือการตกแต่งเปลือกอาคาร ในลักษณะเจาะพื้นผิวให้เป็นลวดลายที่สวยงามตามจินตนาการ ช่วยสร้างมุมมองที่น่าสนใจให้กับอาคาร ทั้งในยามกลางวันที่แสงแดดมาตกกระทบ หรือแสงไฟจากภายใน ที่ส่องสว่างออกมายามค่ำคืน

4.Adapted Facade
​​​​​​​หรือการตกแต่งเปลือกอาคาร ด้วยวัสดุอื่นๆ ที่ผสมผสานไปกับผนังภายนอก เพื่อช่วยสร้างความโดดเด่น และเอกลักษณ์ที่น่าจดจำให้กับตัวอาคาร ด้วยรูปแบบของวัสดุที่หลากหลายจาก เอสซีจี ที่สามารถนำวัสดุตกแต่งในรูปแบบอื่น มาใช้งานตกแต่งผนังในรูปแบบต่างๆได้