บ้านคอร์ทยาร์ด
บ้าน

บ้านคอร์ทยาร์ด

บ้านคอร์ทยาร์ด มีต้นไม้และแสง ผุดขึ้นใจกลางบ้าน

บ้านคอร์ทยาร์ด คอร์ตยาร์ต (COURTYARD) หมายถึง พื้นที่ที่เกิดจากการปิดล้อมด้วยกำแพง หรืออาคารอย่างน้อย 3 ด้าน โดยไม่มีหลังคาปกคลุม ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ Outdoor Courtyard และ Inner Courtyard ปัจจุบันประยุกต์เป็นลานหญ้า หรือปลูกต้นไม้ เพื่อดึงธรรมชาติ และแสงเข้าสู่ภายในอาคาร

คอร์ตยาร์ด (Courtyard) หรือคอร์ต (Court) คือ ลานหรือพื้นที่ไม่มีหลังคาคลุม และมีผนังหรืออาคารโอบล้อมทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น ในการออกแบบบ้านสมัยใหม่ เนื่องจากไม่อาจพึ่งพา สภาพแวดล้อมรอบบ้านได้ เช่น ข้างบ้านไม่น่ารัก ติดทางด่วนมีเสียงดัง อยู่ใกล้ตึกสูงทำให้รู้สึก มีคนมองตลอดเวลา หรืออยากได้พื้นที่เปิดโล่งที่เป็นส่วนตัว มาดูวิธีการออกแบบ และข้อพิจารณาของ การทำคอร์ตในบ้านกัน บ้านจัดสรร

จุดเริ่มต้นของ คอร์ตยาร์ต เกิดขึ้นครั้งแรกที่ ประเทศจอร์แดน ซึ่งสมัยนั้นใช้เป็นเพียงลาน นอกบ้านสำหรับเลี้ยงสัตว์ ทำอาหาร และพักผ่อนกลางแจ้ง ต่อมาได้ประยุกต์ให้เป็นส่วนหนึ่ง ภายในอาคาร คือเป็นลานเล็กๆ กลางบ้านเพื่อผิงไฟ แล้วเจาะช่องหลังคาทะลุ เพื่อระบายควันไฟ และมาเป็นที่นิยม ในช่วงศตวรรตที่ 20 ในลอสแอนเจลิส ที่แทรกเข้าไปในอพาร์ทเม้น สำหรับเป็นพื้นที่ส่วนกลาง ทั้งสระว่ายน้ำ พื้นที่สังสรรค์ บาร์บีคิว และพื้นที่ให้ผู้คนได้ ออกมานั่งสัมผัสกับอากาศดีๆ

บ้านคอร์ทยาร์ด

บ้านคอร์ทยาร์ดโถงสูง บ้านหลังนี้ออกแบบ เพื่อรวบรวมความเป็นตัวตน ของผู้อยู่อาศัย และภูมิหลังทางวัฒนธรรมในอินเดีย มาผสมรวมกับองค์ความรู้ ในงานสถาปัตยกรรม ทำให้บ้านกลายเป็นพื้นที่ เก็บความทรงจำใน ประสบการณ์การอยู่อาศัยใหม่ ๆ ที่ยังคงกลิ่นอาย ความเป็นพื้นถิ่น แต่อยู่สบายในเขตร้อน ไซต์นี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ 60 X 40 เมตร ในบังกาลอร์ตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับครอบครัววัยหนุ่มสาว 5 คนและสุนัข 1 ตัว

เนื่องจากรากเหง้าของเจ้า ของบ้านอยู่ในอินเดีย อิทธิพลของ สถาปัตยกรรมเขตร้อน จึงเกิดขึ้นทุกจุดในบ้าน สามารถเห็นได้ตั้งแต่ด้านหน้าอาคาร ด้วยการใช้หลังคาแบบจั่ว วัสดุส่วนใหญ่ประกอบ ด้วยอิฐสีแดงเปลือย ผิวคอนกรีต ไม้ และหินโกตะสีเหลือง สร้างส่วนผสมที่เป็นธรรมชาติ เรียบง่าย อบอุ่น และโอบรับกลิ่นอายความ เป็นพื้นถิ่นโดยพร้อมเพรียงกัน ต่อประสานกับการออกแบบอ งค์ประกอบสมัยใหม่ เพื่อให้บ้านอยู่สบาย แม้สภาพแวดล้อมจะร้อนและแล้ง

เล่นระดับระหว่างที่อยู่อาศัยและลานบ้านภายใน

เมื่อเข้าไปในบ้าน ดวงตาทุกคู่จะจับจ้อง ไปที่ความใหญ่โตของต้นไม้ธรรมชาติ ที่สูงจากพื้นทะลุเพดาน ที่เจาะเป็นโถงสูงสองเท่า และปริมาณแสงแดดที่ส่องผ่าน ช่องรับแสงรูปตัว L บนหลังคาอย่างเป็นธรรมชาติ ในขณะที่พื้นใส่การเล่นระดับระหว่างที่อยู่อาศัย และลานบ้านภายใน ซึ่งความแตกต่างของ ระดับไม่เพียงเน้นที่ ลานภายในเท่านั้น แต่ยังแบ่งเขตพื้นที่ออกจากกัน โดยไม่ต้องก่ออิฐแบ่งสัด ส่วนฟังก์ชัน ออกเป็นห้องเล็กห้องน้อยด้วย บ้านแฝด

น้องสุนัขเป็นเหมือนสมาชิก ในบ้านคนหนึ่งที่มีสิทธิ์ใช้พื้นที่ บ้านด้วยเช่นกัน พื้นบ้านจึงส่วนที่เป็นหินเย็น ๆ และแผ่นพื้นที่ไม่ลื่น ทำให้น้องสุนัข สามารถนอนเล่น ภายในบ้านได้ทั้งวัน โดยไม่ต้องใช้ชีวิตนอกบ้าน ท่ามกลางแสงแดดร้อนๆ

ในแง่ของโจทย์ เจ้ของบ้านต้องการห้องส่วนตัว สำหรับสมาชิกทุกคน ในขณะที่ยังมีพื้นที่ ที่ครอบครัวสามารถมาร่วมกันทำกิจกรรมร่วมกันได้ นอกจากนี้ ในฐานะผู้รักธรรมชาติ พวกเขาต้องการผสมผสานพื้นที่ สีเขียวและแสงธรรมชาติเข้าไว้ด้วยกันให้ได้มากที่สุด นำไปสู่การสร้างคอร์ทยาร์ด ในพื้นที่ส่วนกลางสำหรับครอบครัว เป็นแกนกลางของบ้าน แล้ววางฟังก์ชันใช้งานอื่นๆ ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น ห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าว ห้องครัว ห้องนอนเอาไว้รอบๆ ลานภายในทั้งชั้นล่างและชั้นบน ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหน ก็รับมุมมองลานบ้านได้หมด

บ้านคอร์ทยาร์ด

คอร์ทยาร์ดและการปลุกต้นไม้ลงในตัวบ้าน

เป็นแนวคิดใหม่ ๆ ในงานสถาปัตยกรรมที่นำเอาพื้นที่ กลางแจ้งมาเก็บไว้ ภายในแบบ inside out-outside in จนบางครั้งก็แยกไม่ออกว่า มีบ้านอยู่ในสวน หรือสวนอยู่ในบ้าน การเจาะเพดานออก เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่แนวตั้งให้กลายเป็นลานโถงสูงนี้ นอกจากสร้างจุดโฟกัส โอบล้อมต้นไม้ให้โต ไปพร้อมบ้านแล้ว

ยังมีประโยชน์ในแง่ของ การควบคุมสภาพอากาศ ภายในบ้าน เพราะจะเป็นช่องทาง เอื้อให้อากาศร้อนลอยตัว ขึ้นสู่ที่สูง และไหลออกจากบ้าน ได้ดีผ่านช่องระบายอากาศ โดยตรงในสามด้านของ บ้านทางทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันออก ช่วยลดความร้อนสะสม สถาปนิกยังติดตั้งกังหันหมุนวนที่ ขับเคลื่อนด้วยลมเหนือสกายไลท์ ยิ่งช่วยอากาศร้อนออกจากตัวอาคารได้เร็วขึ้นอีก

สกายไลท์เป็นรูปตัว L โดยเลียนแบบเส้นทาง ของดวงอาทิตย์ เพื่อให้พื้นที่สวดมนต์ มีแสงสว่างตามธรรมชาติ ตลอดทั้งวัน แม้ว่าช่องรับแสงขนาดใหญ่ จะยกระดับประสบการณ์การ ใช้ชีวิตให้แปลก และแตกต่าง แต่ก็มีความท้าทายอย่างมาก เพราะแสงจะมาพร้อมกับ ความร้อนภายในอาคาร และเพื่อแก้ไขปัญหานี้ สถาปนิกจึงเลือกใช้วัสดุ กระจกที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน ในส่วนต้นและปลายของสกายไลท์ มีระแนงทำจากไม้ไผ่ที่ไม่เพียง ตัดแสงแดดโดยตรง แต่ยังช่วยสร้างแสงเงาสวย บนผนังที่น่าสนใจอีกด้วย

การปล่อยให้มีพื้นที่ ในอาคารมีเพดานโปร่งโล่งทะลุ จากชั้นล่างไปสู่ชั้นบน จะช่วยให้เกิดความเชื่อมต่อ ระหว่างพื้นที่ชั้น 1 ไปยังชั้นอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นผลดีในการระบายอากาศ และยังเชื้อเชิญแสงธรรมชาติ เข้าสู่ตัวอาคารอย่างทั่วถึง เมื่อเพิ่มคอร์ทที่บริเวณด้านข้าง หรือใจกลางอาคาร ก็จะเป็นพื้นที่ธรรมชาติ ที่ลดความแข็งกระด้างของตัวอาคารลง พร้อม ๆ กับเติมความรู้สึกเป็นมิตรเอาไว้ข้างใน ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับบ้านใน หลากหลายสภาพอากาศ 

คอร์ทยาร์ดกลางบ้าน

รูปแบบของคอร์ต

คอร์ตเกิดจากการจัดวางอาคารที่สัมพันธ์กันพื้นที่ว่าง หากต้องการบ้านที่มีคอร์ตจึงควรเริ่มตั้งแต่การจัดวางผังอาคาร ซึ่งสามารถวางผังเป็นอาคารเดี่ยวและกลุ่มอาคาร เพื่อโอบล้อมหรือเปิดพื้นที่โล่งโดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ คอร์ตที่อยู่ภายนอกอาคาร (Outdoor Courtyard) และคอร์ตที่อยู่ภายในอาคาร (Inner Courtyard) โดยมีรูปแบบการทำคอร์ต ดังนี้

  • คอร์ตระหว่างอาคาร
  • คอร์ตของอาคารที่ไม่สมมาตร
  • คอร์ตของอาคารที่สมมาตร

การสร้างอาคารหลายหลังเป็นกลุ่มจะเกิดพื้นที่ว่างระหว่างอาคาร ซึ่งสามารถออกแบบให้เป็นทั้งคอร์ตหลักและคอร์ตรองได้ทั้งแบบสมมาตรและไม่สมมาตร รวมถึงใช้คอร์ตเป็นทางเข้าหลักเพื่อกระจายไปยังอาคารต่างๆได้ด้วย

คอร์ทยาร์ดโถงสูง

คอร์ตในอาคารเดี่ยว

มีรูปแบบการทำคอร์ตได้หลายแบบตามการออกแบบพื้นที่ใช้งาน มาดูไอเดียการวางแปลนบ้านและคอร์ตแบบต่างๆกัน

  • คอร์ตที่มองด้านเดียว เป็นพื้นที่ระหว่างอาคารกับผนัง อาจออกแบบให้ชั้นบนยื่นออกมาเพื่อคลุมพื้นที่ด้านล่างให้มีลักษณะแบบกึ่งกลางแจ้ง (Semi-outdoor space) ซึ่งใช้งานได้โดยไม่เปียกฝน  บ้านเดี่ยว
  • คอร์ตของอาคารรูปตัวแอล (L) เป็นรูปแบบที่นิยมมากที่สุด เพราะได้รับทั้งมุมมองและไม่รู้สึกปิดล้อมเกินไป พื้นที่มีโอบล้อมที่มองเห็นได้สองด้าน หรือถ้าออกแบบอาคารรูปตัวแอลต่อๆกัน ก็จะเกิด คอร์ตอีกหลายรูปแบบ ซึ่งเหมาะกับอาคารที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือการทำบ้านหลายหลังในพื้นที่เดียวกัน
  • คอร์ตของอาคารรูปกากบาท จะเกิดคอร์ตที่มุมอาคารทั้งสี่ด้าน ซึ่งสามารถออกแบบมุมมองให้เห็นแต่ละคอร์ตมีความแตกต่างกัน
  • คอร์ตของอาคารรูปตัวโอ (O) เป็นพื้นที่โอบล้อมที่มองเห็นได้สี่ด้าน พื้นที่ภายในมีความเป็นส่วนตัวที่สุด
  • คอร์ตของอาคารรูปตัวโอมีช่องเปิด เป็นพื้นที่โอบล้อมที่มองเห็นได้สี่ด้าน แต่เปิดให้มีความสัมพันธ์กับพื้นที่ภายนอก อาจใช้เป็นทางเข้าอาคาร หรือเปิดให้ลมพัดผ่านได้ดีขึ้น

อ่านบทความที่หน้าสนใจ