บ้าน

ข้อควรรู้ก่อนสร้าง บ้านบนต้นไม้

ข้อควรรู้ก่อนสร้าง บ้านบนต้นไม้ เข้ากับธรรมชาติได้ดี

ข้อควรรู้ก่อนสร้าง บ้านบนต้นไม้ กระท่อมหลังน้อยบนต้นไม้ ยิ่งกว่าความเป็นธรรมชาติ เมื่อวัยเด็ก หากใครได้เกิดในภูมิลำเนาที่เป็นชนบท คุณอาจเคยได้สร้างบ้านกระท่อมบนต้นไม้เล็ก ๆ เพื่อไว้เป็นที่นอนเล่นกับเพื่อน ๆ ในรุ่นวัยเดียวกัน  ก็เป็นหนึ่งในนั้น ช่วงอายุประมาณ 7 – 15 ปี เคยได้สร้างที่พักเล็กๆ มีเพียงแค่แผ่นไม้กระดาน ใช้วิธีปีนป่ายขึ้นไปบนต้นไม้สูง หากช่วงของกิ่งไม้ที่เหมาะสม จากนั้นก็ตีไม้กระดานประมาณ 5 – 10 แผ่น เพียงพอที่จะนั่งได้ประมาณ 3 คน ตอกตะปูให้แน่น มีหลังคาเป็นใบไม้ปกคลุม อาจเรียกได้ว่า เป็นบ้านหลังแรก ๆ ที่สร้างด้วยฝีมือตนเองล้วน ๆ เป็นความทรงจำในวัยเยาว์ที่ น่าจดจำ เมื่อได้เห็นบ้านหลังนี้ บ้านไม้ขนาดเล็ก 

สร้างไว้อยู่บนต้นไม้ขนาดใหญ่ รวมแล้วมีทั้งหมด 3 ชั้น ชั้นแรกไว้สำหรับนั่งสังสรรค์ นั่งเล่นชมบรรยากาศ ชั้น 2 สำหรับใช้ประโยชน์ทั่วไป ออกแบบมาให้มีระเบียงหน้าห้อง และชั้น 3 เป็นห้องใต้หลังคา สำหรับห้องนอน ทำการเจาะหน้าต่างบนหลังคาหน้าจั่ว เพื่อให้ห้องนอนสามารถถ่ายเทอากาศได้ การตกแต่งที่เน้นเรียบง่าย วัสดุในการก่อสร้างทั้งหมด เน้นการใช้วัสดุเหลือใช้ สิ่งเดียวที่น่าสงสัยสำหรับบ้านหลังนี้ คือ ต้นไม้ต้นดังกล่าวจะยังคงมีชีวิตอยู่อีก หรือไม่

หากยังมี ตัดเพื่อให้กิ่งใบแตกมาใหม่ จะเป็นไอเดียที่ดีเลิศ เพราะ ในอนาคต ใบไม้ที่เขียวขจี จะช่วยปกป้องบ้านให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น แต่หากต้นไม้นี้ต้องตายไป ก็น่าเสียดายยิ่งนัก

ข้อควรรู้ก่อนสร้าง ” บนต้นไม้ “

คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าการสร้าง บ้านต้นไม้ มีหลักการอย่างไรบ้าง และมีอะไรที่ต้องคำนึงถึง ทั้งในเรื่องของความปลอดภัยและการก่อสร้าง “บ้านและสวน” ขอสรุปสิ่งควรรู้ก่อนสร้างบ้านต้นไม้ 10 ข้อ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง และในตอนท้ายเรายังมีภาพตัวอย่างบ้านต้นไม้สวยๆให้ชมเป็นไอเดียกันด้วย  บ้านเดี่ยว บ้านแฝด 

1. เลือกต้นไม้ที่เหมาะสม

การเลือกต้นไม้ที่เหมาะสมถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างแรกที่ต้องคิดถึง ควรเป็นต้นที่มีความทนทาน เติบโตเต็มที่ ไร้โรค มีรากแก้วที่แข็งแรง นอกจากนี้ต้องไม่มีขน หนาม ยาง หรือผลที่เป็นที่อยู่อาศัยของแมลง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน รวมทั้งกิ่งไม่เปราะหรือหักง่าย ไม่ควรเลือกต้นไม้ที่แก่หรืออ่อนเกินไป และไม่ควรนำต้นไม้ที่ล้อมจากที่อื่นมาปลูกมาทำบ้านต้นไม้ด้วย เพราะรากจะยึดติดกับดินได้ไม่ดีเท่าที่ควร หากเป็นไปได้ควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านต้นไม้เข้ามาตรวจสภาพต้นไม้นั้นก่อนก็จะดีที่สุด

ขนาดกำลังดีของบ้านต้นไม้คือ 2.40 x 2.40 เมตร ซึ่งไม่เล็กและไม่ใหญ่เกินไป ลำต้นของต้นไม้ที่จะใช้ต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 30 เซนติเมตร (วัดจากตำแหน่งของลำต้นที่ต้องการจะสร้างบ้านต้นไม้) ส่วนวิธีการวัดก็ทำได้โดยการนำเชือกหรือสายวัดมาวัดรอบลำต้นในตำแหน่งที่ต้องการ และนำตัวเลขที่ได้หารด้วย 3.14 ก็จะได้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้น

2. ควรเลือกต้นไม้แบบไหน

ต้นไม้แบบไหน ? แข็งแรงทนทาน

การสร้างบ้านต้นไม้ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ควรคำนึงถึงหลายๆ ด้าน อย่างเช่น การเลือกต้มไม้ รูปแบบบ้านที่ต้องการ ความปลอดภัย งบประมาณในการสร้าง รวมถึงการใช้งานระยะยาว เพราะหากไม่มีการวางแผนมาก่อนรับรองว่าคุณได้เสียเงินเสียเวลาอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นพี่เข้อยากจะมาแนะนำ สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างฝันในวัยเด็กอยากจะมีบ้านต้นไม้เป็นของตัวเอง แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร สร้างบ้านต้นไม้ ควรเลือกต้นไม้แบบไหน ถึงปลอดภัย เป็นสิ่งพื้นฐานที่หลานคนต้องให้ความสำคัญ อย่าลืมว่าบ้านต้นไม้มีน้ำหนักมาก แถมยังต้องการสิ่งรองรับที่แข็งแรง เพราะขนาดบ้านที่ปลูกสร้างบนพื้นดินยังสามารถทรุดตัวได้ แล้วบ้านต้นไม้จะต้องเลือกรากฐานแบบไหน เพื่อความแข็งแรง

ต้นหว้า

ต้นหว้าเป็นไม้เขตร้อน เมื่อเจริญเติบโตมีความสูงประมาณ 15-35 เมตร ลำต้นมีสีน้ำตาล ผิวเรียบ มีพุ่มใบแน่นให้ความร่มเย็นเป็นอย่างดี โดยพุ่มแผ่กว้างตามอายุของต้นไม้ การปลูกจะต้องใช้พื้นที่มากกว่า 30 ตารางเมตร เพราะมีขนาดใหญ่สวยงาม เหมาะสำหรับสร้างบ้านต้นไม้ เพราะมีรากฐานแข็งแรง ให้ร่มเงา

ต้นมะขาม

ต้นมะขาม เป็นต้นไม้ยืนต้นที่มีความสูงได้ประมาณ 20 เมตร มีลักษณะการเจริญเติบโตเป็นทรงแผ่เป็นเรือนยอดกลม หากมีการเริ่มปลูกจากเมล็ดจะมีการเติบโตช้า โตได้ดีในดินร่วนปนทราย ชอบแสงแดด เหมาะสำหรับการทำบ้านต้นไม้ เพราะมีรากแก้ว ลำต้น และก้านที่แข็งแรง ทนทาน สามาถรับน้ำหนักได้มาก

ต้นจามจุรี

ต้นจามจุรีมีขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-20 เมตร มีกิ่งก้านขนาดใหญ่ เรือนยอดมีรูปร่มแผ่กว้าง เป็นต้นไม้ที่ให้ร่มเงา มีรูปทรงสวยงาม การปลูกควรใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ มีความแข็งแรง ทนทาน ทนน้ำท่วมได้เป็นอย่างดี นิยมนำมาปลูกบ้านต้นไม้ ไม่ไม่ควรทิ้งน้ำหนักมาที่ต้นไม้โดยตรง  เนื่องจากต้นไม้รับน้ำหนักได้ไม่มากนัก สร้างบ้านต้นไม้ได้ขนาดเล็กเท่านั้น  บ้านเดี่ยว บ้านแฝด 

ต้นกันเกลา

ต้นกันเกราเป็นต้นไม้ยืนต้น ที่มีความสูงประมาณ 8-25 เมตร  โดนลำต้นมีลักษณะเป็นเปลือกหยาบ มีกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน เหมาะสำหรับในการปลูกบนพื้นที่กว้าง ขนาดใหญ่ เพราะต้นกันเกราเป็นพุ่ม แต่ไม่ได้แผ่กว้างมากนัก  หามีการนำมาปลูกสร้างบ้านต้นไม้ ควรทำการตัดแต่งทรงสักหน่อย หรือทำการปลูกสร้างต่อเติมลงพื้นดิน

บ้านต้นไม้ได้รับความนิยมอย่างมาก ในปัจจุบันจะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่ามีการนำมาสร้างบ้าน ร้านอาหารและอีกมากมาย เพราะมีความโดดเด่นแปลกตา ดังนั้นหากสร้างบ้านต้นไม้ ควรเลือกต้นไม้ที่มีรากแก้วแข็งแรง  ไร้โรค  และไม่มีขน ยาง หรือหนาม รวมถึงผลที่จะเป็นตัวการในการนำแมลง ซึ่งจะส่งผลอันตรายต่อผู้อาศัย พี่เข้แนะนำให้ทำการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือการลงพื้นที่ปลูกสร้าง เพื่อที่จะได้คำนวนความเหมาะสมและความปลอดภัย

3. ต้องขออนุญาตก่อสร้างบ้านต้นไม้ หากต้องการขอติดตั้งระบบน้ำและไฟฟ้า

หากต้องการขอติดตั้งระบบน้ำและไฟฟ้าภายในบ้านต้นไม้ การขออนุญาตก่อสร้างกับพื้นที่เขตที่สร้างเป็นสิ่งที่ต้องทำ แต่หากไม่ต้องการใช้น้ำและไฟฟ้า ก็จะเป็นเหมือนบ้านหลังเล็กที่ให้ลูกๆขึ้นไปเล่นได้ จึงไม่ต้องขออนุญาต แต่สิ่งที่ควรพิจารณาเองคือ บ้านต้นไม้นั้นไม่ควรยื่นเลยเขตที่ดินของเราออกไปยังพื้นที่ของเพื่อนบ้าน และการสร้างนั้นไม่ได้ทำเพื่อการพาณิชย์

4. แจ้งเพื่อนบ้านให้ทราบก่อน

หาก บ้านต้นไม้ นั้นอยู่ใกล้เขตรั้วที่ติดกับเพื่อนบ้าน สิ่งที่ควรทำก่อนการออกแบบและก่อสร้าง คือ แจ้งเพื่อนบ้านให้ทราบถึงแผนของเรา นอกจากจะแจ้งเชิงขออนุญาตกับเพื่อนบ้านแล้ว เราควรจะแจ้งกำหนดการและระยะเวลาที่จะสร้างด้วย เป็นการเคารพและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อไป

5. คิดถึงโครงสร้างก่อน

สิ่งสำคัญของบ้านต้นไม้คือโครงสร้างที่แข็งแรง เมื่อเลือกต้นไม้ที่มีความแข็งแรงได้แล้ว ลำดับต่อมาคือการออกแบบโครงสร้างที่จะรับตัวบ้าน ซึ่งหลักๆมี 3 รูปแบบ คือ แบบแขวนจากกิ่งกานลำต้นด้านบน แบบนี้ต้องมีกิ่งก้านด้านบนที่แข็งแรง  ไม่เหมาะกับ บ้านต้นไม้ที่ใช้งานบ่อยและรองรับน้ำหนักมาก ๆ

แบบค้ำยันจากลำต้น แบบนี้แข็งแรงและมีความซับซ้อนในการก่อสร้างน้อยที่สุด สามารถเสริมตัวค้ำยันได้มากเท่าที่ต้องการ แต่ก็สร้างความเสียหายแก่ต้นไม้มาก เช่นกัน แบบตั้งเสาขึ้นมาจากพื้น วิธีนี้จะยึดติดกับต้นไม้น้อยที่สุด เพราะมีเสาที่ตั้งขึ้นไปจากพื้นรองรับน้ำหนักแทน สุดท้ายแล้ว เราจะเลือกวิธีไหนก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของต้นไม้นั้นๆว่าเหมาะสมกับโครงสร้างแบบใดที่สุด

6. ออกแบบบันไดขึ้นให้เหมาะสม

การจะขึ้นไปบนบ้านต้นไม้นั้นมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นบันไดที่เดินขึ้นแบบปกติ หรือจะเป็นบันไดลิงที่นำมาพาดเฉพาะตอนที่มีการใช้งานก็ได้ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าเป็นใคร ต้องการความสะดวกสบายในการเข้าถึงมากแค่ไหน

7. ความปลอดภัยสำคัญที่สุด

บ้านต้นไม้ต้องอยู่บนต้นไม้ในตำแหน่งที่ไม่สูงมากนัก มีราวกันตกที่แข็งแรง หากผู้ใช้งานเป็นเด็ก ความสูงจากพื้นดินจนถึงพื้นบ้านต้นไม้ไม่ควรเกิน 180 เซนติเมตร ราวกันตกรอบบ้านและบันไดสูงไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร หากเป็นไปได้พื้นด้านล่างควรโรยทรายหรือทำบ่อทราย เผื่อเวลาที่พลัดตกลงมาจะได้ไม่บาดเจ็บมาก

บ้านต้นไม้ที่สร้างขึ้นโอบล้อมต้นจามจุรี รอบๆเป็นบ่อทรายลึก 20 เซนติเมตร โดยเลือกใช้ทรายทะเล เพราะมีขนาดเม็ดทรายที่ละเอียดกว่าทรายก่อสร้าง

8. เริ่มด้วยโครงสร้างพื้น

เมื่อเริ่มสร้างบ้านต้นไม้ สิ่งแรกที่ต้องทำคือพื้นของบ้าน และควรสร้างอย่างใจเย็น เพราะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของบ้าน ต้องรับน้ำหนักได้ดี แข็งแรง วัสดุพื้นอาจเป็นแผ่นไม้อัดที่ติดตั้งอยู่บนตงไม้เช่นกัน ความห่างของตงประมาณ 40 – 60 เซนติเมตร และเมื่อทำพื้นเสร็จ เราก็สามารถขึ้นไปยืนบนพื้นเพื่อก่อสร้างส่วนต่างๆของบ้านได้อย่างสะดวกอีกด้วย

9. วัสดุที่ใช้ต้องเป็นวัสดุเบา

บ้านต้นไม้ต้องการโครงสร้างและวัสดุต่างๆที่มีน้ำหนักเบาที่สุด โครงสร้างที่เหมาะสมที่สุดจึงเป็นโครงสร้างไม้ ผนังของตัวบ้านเป็นโครงคร่าวที่ติดวัสดุปิดผิวอย่างไม้อัดหรือแผ่นไม้สังเคราะห์ที่มีความหนาน้อยที่สุด องค์ประกอบต่างๆอาจไม่ต้องเหมือนบ้านที่อยู่อาศัยจริงทั้งหมด 

เราอาจตัดวงกบประตูหน้าต่างทิ้ง และใช้แผ่นไม้อัดที่ติดตั้งบานพับเหมือนบานพับตู้เป็นส่วนของประตูและหน้าต่างแทน ส่วนหลังคาอาจไม่ต้องการโครงสร้างหลังคาเลยก็ได้ เป็นเพียงแผ่นไม้อัดวางพาดผนังเพื่อให้เกิดรูปทรงของหลังคาก็เพียงพอ

10. มีบ้านต้นไม้ต้องดูแลมากกว่าปกติ

ต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการเติบโตและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บ้านที่อยู่ใกล้ชิดต้นไม้ขนาดนี้จึงต้องการการดูแลอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความแข็งแรง พื้นไม้ โครงสร้าง หรือหลังคา ควรตรวจสอบว่ามีการชำรุดเสียหายจากการไหวตัวของต้นไม้หรือไม่ รวมถึงสัตว์มีพิษต่างๆที่อาจเข้าไปอยู่ภายในบ้านโดยที่เราไม่รู้ตัว